สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) เขต 10 อุบลราชธานี

 
 
เปิดประเด็น ?โรงพยาบาลสร้างเ...

เปิดประเด็น ?โรงพยาบาลสร้างเ...

กองทุนพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ และสปสช. เขต ๑๐ อุบลราชธานีประชุม ๓๐ รพช.ของมุกดาหาร ยโสธร ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี เก็บเกี่ยวความรู้จากประสบการณ์พัฒนาบริการปฐมภูมิในเครือข่าย หวังสร้างระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพและไร้ตะเข็บรอยต่อ เมื่อวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๒ นพ.สมชาย เชื้อเพชระโสภณ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต ๑๓ ได้เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการเรื่อง การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิในเครือข่ายหน่วยบริการประจำ (เขตชนบท) ณ ห้องบอลรูม B-C โรงแรมลายทอง จ.อุบลราชธานี โดยให้แนวทางการหยุดยั้งวัณโรค (stop TB) เป็นตัวแบบเพื่อพัฒนาบริการปฐมภูมิในบทบาทของการดูแลผู้ป่วยร่วมกับโรงพยาบาลชุมชนที่เป็นแม่ข่ายอย่างต่อเนื่อง ส่วนนพ.ปัญญา กีรติหัตถยากร ที่ปรึกษาอาวุโสของสปสช. ได้เปิดประเด็นสำคัญ ?แผนทศวรรษเพื่อการพัฒนาโรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพตำบล? เพื่อยกระดับศูนย์สุขภาพชุมชนหรือสถานีอนามัย (ซึ่งมีจำนวน ๙,๘๑๐ แห่งทั่วประเทศ) ตามนโยบายด้านสาธารณสุข ข้อ ๓.๓.๓ สู่ โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพประจำตำบล โดยเฉพาะสถานีอนามัยซึ่งมีพยาบาลวิชาชีพประจำ (๒,๙๖๘ แห่งหรือประมาณหนึ่งในสาม) และมีทีมสุขภาพให้บริการเชิงรุกร่วมกับอสม. (อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน) ด้วยความร่วมมือของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ จะนำร่องจำนวน ๕๐๐ แห่งทั่วประเทศเร็วๆนี้ ตามดำริของนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หลังจากนั้น ได้มีการถอดบทเรียนจาก เรื่องการเรียนรู้ของบุคลากรสาธารณสุขตามบริบทของหน่วยบริการ ของรพ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ, เรื่องการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชนโดยบริการปฐมภูมิ ของรพ.วารินชำราบ, เรื่องการพัฒนาระบบ tele-medicine โดยรพ.พนา จ.อำนาจเจริญและรพ.สมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา จ.ยโสธร ในภาคบ่าย ที่ประชุมได้รับฟังเสวนาประสบการณ์ เรื่องจริงในโครงการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ จากวิทยากรกลุ่ม ได้แก่ นพ.สสจ.อุบลราชธานี วุฒิไกร มุ่งหมาย, พญ.รัชฎาพร รุญเจริญ ผอ.รพ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ, สสอ.คำเขื่อนแก้ว วิทยา เพชรรัตน์ จ.ยโสธร และ สุภาพร มั่นใจ พยาบาลวิชาชีพ สอ.จานลาน อ.พนา จ.อำนาจเจริญ โดยมี ทพ.วุฒิชัย ลำดวน สปสช. เขต ๑๐ อุบลราชธานี เป็นผู้ดำเนินการเสวนา ผอ.ธีรพล เจนวิทยา สปสช. เขต ๑๐ อุบลราชธานี ได้ให้ความเห็นว่า โครงการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิในเครือข่ายหน่วยบริการประจำ (เขตชนบท) ซึ่งได้แก่โรงพยาบาลชุมชน ทำให้ทิศทางการพัฒนาชัดเจนและมีบูรณาการภายในขอบเขตของอำเภอ ทำให้เกิดระบบบริการสุขภาพที่มีศักยภาพสูงขึ้นและไร้ตะเข็บรอยต่อระหว่างหน่วยบริการทุกระดับ



Project Manager: นส.ศันสนีย์  คำจันทา
โทรศัพท์: 045-240591
มือถือ: 090-197-5238
E-mail: sunsanee.k@nhso.go.th
วันที่ลงข่าว: 09/03/2552