สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) เขต 10 อุบลราชธานี

 
 
สรุปผลงานเขต 14 และมอบรางวัลน...

สรุปผลงานเขต 14 และมอบรางวัลน...

สธ.เขต 14 และสปสช. สาขาเขตพื้นที่ (อุบลราชธานี) ร่วมกันจัดสัมมนาสรุปผลงานปี 2550 และมอบรางวัลแก่หน่วยบริการที่มีผลงานดีเด่น เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2550 นายแพทย์สมยศ ดีรัศมี ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต 14 ได้เดินทางไปเป็นประธานการสัมมนาสรุปผลการพัฒนางานด้านสาธารณสุขของเขตตรวจราชการที่ 14 ซึ่งจัดร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สาขาเขตพื้นที่ (อุบลราชธานี) ณ ห้องบอลรูม โรงแรมลายทอง จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีผู้บริหารและข้าราชการในเขตเข้าสัมมนา 200 คน ผลการประเมินโดยรวม มีตัวชี้วัดบรรลุเป้าหมายรวม 57 ตัวชี้วัด หรือคิดเป็นร้อยละ 87.69 เช่น อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลงร้อยละ 49.05 ของค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี, ร้อยละ 78.17 และ 75.02 ของประชากรอายุ 40 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองความดันโลหิตและเบาหวานตามมาตรฐาน, ร้อยละ 61.25 ของสตรีที่มีอายุ 35, 40, 45, 50, 55 และ 60 ปี ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกโดยวิธี Pap smear ทุกรายที่มีผลผิดปรกติได้รับการส่งต่อตามแนวทางที่กำหนด, ร้อยละ 100 ของโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน มีสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน (เช่น ห้องสุขา) สำหรับคนพิการ, ร้อยละ 96.09 ของหญิงคลอดที่ติดเชื้อ HIV ได้รับยาต้านไวรัสเอดส์ขณะตั้งครรภ์และร้อยละ 81.63 ของเด็กอายุ 18-24 เดือนที่เกิดจากแม่ที่ติดเชื้อ HIV ได้รับการตรวจเลือด HIV, ร้อยละ 24.4 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าร่วมจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินเพิ่มขึ้นจากปี 2549, และร้อยละ 100 ของโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชนมีการดำเนินการตามโครงการจิตอาสาฯที่ผ่านเกณฑ์ เป็นต้น ในการสัมมนา ได้มีการแสดงนิทรรศการและนำเสนอวีดิทัศน์นวัตกรรมดีเด่นของหน่วยบริการปฐมภูมิในจังหวัดยโสธร ศรีสะเกษ อำนาจเจริญและอุบลราชธานี นอกจากนั้น นายแพทย์ธีรพล เจนวิทยา ผอ.สปสช. สาขาเขตพื้นที่ (อุบลราชธานี) ได้มอบรางวัลแก่ นางยุพิน พุฒผา หัวหน้าสถานีอนามัยฟ้าห่วน อ.ลืออำนาจ จ.อำนาจเจริญ ซึ่งชนะเลิศการประกวดนวัตกรรมบริการปฐมภูมิดีเด่นประจำปี 2550 โดยเสนอโครงการฟ้าห่วนสร้างสุข มีความตอนหนึ่งว่า ?.....ในอดีต การทำงานด้านสุขภาพที่เน้นการซ่อม ทำให้ห้องทำงานแคบมาก มีเพียงภายในสถานีอนามัยเท่านั้น ?รักษาแล้วก็รักษา? ทั้งที่กรอบงานอยู่ในชุมชน แต่มักมีข้ออ้างให้ตนเองเสมอว่า เจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ ออกชุมชนไม่ได้ แต่พอยิ่งทำงานก็ยิ่งห่างไกลจากชาวบ้านออกไปทุกที ทำไปทำมามันเหมือนวนอยู่ในอ่าง ไม่เจอทางออก จนเมื่อได้ถอดหมวกออก รับฟังชาวบ้านมากขึ้น มองสุขภาพให้เป็นเรื่องของ สุขภาวะ ทำให้พบว่าห้องทำงานกว้างขึ้น จากสถานีอนามัยเป็นหมู่บ้าน จากหมู่บ้านเป็นหลายๆหมู่บ้าน จะหยิบจับตรงไหน ก็คืองาน คือการสร้างสุขภาพ เพราะสุขภาพที่ดีมาจากสังคมที่ดี ในรอบปีที่ผ่านมา สถานีอนามัยฟ้าห่วน ได้ทำโครงการ/กิจกรรม ที่นอกเหนือจากงานประจำหรืองานนโยบาย 20 กว่าโครงการ/กิจกรรม แต่มีเจ้าหน้าที่เพียงแค่ 2 คน มันแทบจะเป็นไม่ได้เลย หากไม่ได้ความช่วยเหลือจาก ?นักจัดการสุขภาพภาคประชาชนผู้มีจิตอาสา? หรือในที่นี้เรียกว่า ทีมงาน ?ฟ้าห่วนสร้างสุข? จากที่เคยกล่าวอ้างว่าเจ้าหน้าที่ไม่พอ กลับไม่ได้เป็นปัญหาในการทำงานอีกเลย...? ผู้สนใจผลงานนวัตกรรมดีเด่นข้างต้น สามารถหารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.fahuan.com



Project Manager: นส.ศันสนีย์  คำจันทา
โทรศัพท์: 045-240591
มือถือ: 090-197-5238
E-mail: sunsanee.k@nhso.go.th
วันที่ลงข่าว: 21/09/2550