สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) เขต 10 อุบลราชธานี

 
 
แจงใช้สิทธิโดยรัฐต่อยาต้าน...

แจงใช้สิทธิโดยรัฐต่อยาต้าน...

จากกรณีที่รมว.สธ. ไชยา สะสมทรัพย์ประกาศเดินหน้าทำซีแอลยาต้านโรคมะเร็ง 4 รายการ ทำให้ประชาชนให้ความสนใจเรื่อง ซีแอล เป็นอย่างมาก เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2551 นายแพทย์ธีรพล เจนวิทยา ผอ. สปสช. สาขาเขตพื้นที่ (อุบลราชธานี) ได้รับเชิญจากอาร์ทีวี (ราชธานีเคเบิ้ลทีวี) เพื่อให้ข้อมูลเรื่อง ซีแอล หรือ compulsory licensing ในรายการ เปิดอกคุย โดยกล่าวถึงที่มา แนวคิดในการทำซีแอลยา ว่า การที่บริษัทยาที่มีสิทธิบัตรได้ตั้งราคายาแพงมาก สมาชิกองค์การค้าโลก กว่า 140 ประเทศ จึงได้ประกาศให้เอกสิทธิของแต่ละประเทศพิจารณาเหตุผลและกรณีความจำเป็นที่จะประกาศสิทธิโดยรัฐ เพื่อประโยชน์ของประชาชนและด้วยเหตุผลตามหลักมนุษยธรรม ได้มีคณะอนุกรรมการคัดเลือกยาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็นและมีปัญหาในการเข้าถึงของประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกยาเพื่อทำซีแอล 2 ประการ คือ ประการแรก เป็นยาหรือเวชภัณฑ์ที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ หรือที่จำเป็นในการแก้ปัญหาสาธารณสุข หรือต้องใช้ในภาวะฉุกเฉิน หรือต้องใช้ในโรคระบาด หรือต้องใช้ในการช่วยชีวิต ประการที่สอง ยาหรือเวชภัณฑ์นั้น มีอุปสรรคต่อการเข้าถึง หรือเป็นภาระด้านการเงินที่ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไม่สามารถรองรับได้ ประเทศไทยจึงมีการทำซีแอลยาแล้ว 2 รอบ โดยรอบแรก ทำซีแอลยาต้านไวรัสเอดส์ 2 รายการ กับยาสลายลิ่มเลือดหัวใจ 1 รายการ ต่อมาทำซีแอลยา รอบที่ 2 ซึ่งรมว.สธ.ประกาศเดินหน้า ได้แก่ยาต้านโรคมะเร็งที่มีสิทธิบัตร จำนวน 4 รายการ โดยสามารถเจรจาจนได้ผลดี 1 รายการ และประกาศซีแอลยา 3 รายการที่เหลือเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2551 ทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งสามารถเข้าถึงยาได้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก



Project Manager: นส.ศันสนีย์  คำจันทา
โทรศัพท์: 045-240591
มือถือ: 090-197-5238
E-mail: sunsanee.k@nhso.go.th
วันที่ลงข่าว: 14/03/2551