สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) เขต 10 อุบลราชธานี

 
 
อีสานกวาดรางวัล R2R ปี 2554...

อีสานกวาดรางวัล R2R ปี 2554...

สวรส.ประกาศผลงานจากงานประจำสู่งานวิจัยดีเด่นประจำปี 2554 เพื่อมอบรางวัลให้เป็นที่รับทราบและประจักษ์ในคุณค่า และเชื่อมพลังเครือข่าย ในการประกวดผลงาน R2R (หรือจากงานประจำสู่งานวิจัย) ดีเด่นประจำปี 2554 สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขร่วมกับภาคีเครือข่าย R2R ได้พิจารณาตัดสินให้มีผลงานได้รับรางวัลจำนวน 41 ราย แบ่งเป็นกลุ่มปฐมภูมิ 6 ราย กลุ่มทุติยภูมิ 8 ราย กลุ่มตติยภูมิ 12 รางวัล กลุ่มสนับสนุนบริการและบริหาร 15 รางวัล ทั้งนี้ เป็นผลงานจากอีสานจำนวน 19 ราย ได้แก่ กลุ่มปฐมภูมิ ได้แก่ ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคเข้มแข็งเครือข่ายรพ.สต.ยางขี้นก โดย ใบศรี อุทธสิงห์, กิตติ์ธเนศ นิธิวรเสฎฐ์, เยาวลักษณ์ โภคละ รพ.สต.ยางขี้นก อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี และ ชุมชนท่าไห ห่วงใย ใส่ใจ สุขภาพจิต โดย อุไรวรรณ ศรีระบุตร รพ.สต.ท่าไห อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี กลุ่มทุติยภูมิ ได้แก่ ดูแลรักษาไต ใส่ใจเรื่องยา โดย พัชริยา โทนหงษา, ปิยะเชษฐ์ จตุเทน, อุปทิน รุ่งอุทัยศิริ รพ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด, เสื้อสมุนไพร Three in One โดย ชมพูนุช วงค์ตาขี่, สยามรัฐ จูงไทย, ภัทรนันท์ แก่นท้าว, พิมพ์ริสา ตั้งไพบูลย์ รพ.สมเด็จพระยุพราชธาตุพนม จ.นครพนม, CONDOM ติดดาว: การทำแผล Permanent Catheter ด้วย Condom โดย วิจิตรา แก้วงาม, พัชราวะไล นนตะแสน, ปิยาภรณ์ วงศ์คำหูม รพ.สมเด็จพระยุพราชธาตุพนม จ.นครพนม, ผ้าปิดตาสุขสบาย โดย พิมพ์ริสา ตั้งไพบูลย์ รพ.สมเด็จพระยุพราชธาตุพนม จ.นครพนม, การพัฒนาการดูแลผู้ป่วย Melioidosis ในหอผู้ป่วยใน โดย กัลญา สุทธิธรรม รพ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด กลุ่มตติยภูมิ ได้แก่ การส่งเสริมการเลี้ยงลูกที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ด้วยนมแม่อย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอดในทารกที่แม่มารับการฝึกให้นมในหอผู้ป่วยหลังคลอด โดย พรเพ็ญ ปทุมวิวัฒนา, สุธิดา ทองสุโข, ธาริณี นราธิปกร, กุสุมา ชูศิลป์ รพ.ศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น, โปรแกรมการฝึกเสียงด้วยตนเองในผู้ป่วยเสียงแหบ โดย เบญจมาศ พระธานี, สุภาภรณ์ ศรีร่มโพธิ์ทอง, พัชรีพร แซ่เซียว, รวงรัตน์ แสงนิพันธ์กุล คณะแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น, การประเมินสภาพการบาดเจ็บภายใน 24 ชั่วโมง หลัง admission เพื่อลด missed injury โดย ศศิธร ชำนาญผล, พัชรินทร์ ทีปีเนตร, รัชนู เหล็กงาม, อรุณรัตน์ ศุภวรรณาวิวัฒน์ รพ.สรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี, การพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจให้ลดการติดเชื้อจนเป็นศูนย์ (Fighting VAP to Zero Goal) โดย วิมลมาลย์ พงษ์ฤทธิ์ศักดา, วิภา อัศยเผ่า, สุจินดา ธิติเสรี, ธวัชชัย วิวัฒน์วรพันธ์ รพ.มหาราชนครราชสีมา กลุ่มสนับสนุนบริการและบริหาร ได้แก่ เพิ่มพลังนึ่งหารสองสนองโลกร้อน โดย สหัส ตอสูงเนิน, บังอร อินอ่อน, สมหญิง อุ้มบุญ รพ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร, จากภูมิปัญญาไส้หมอนขิดป่าติ้ว ช่วยการนึ่งซองซีลไม่ให้เปียกชื้น โดย บังอร อินอ่อน, สหัส ตอสูงเนิน, ศิริรัตน์ ยนต์พันธ์ รพ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร, ผลการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์รับนัดผู้ป่วยผ่าตัด Decha Program โดย สุลักขณา จันทวีสุข รพ.สรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี, การประยุกต์ใช้โลจิสติกส์ลีนในระบบสาธารณสุข กรณีศึกษา: การพัฒนาระบบ e-stock online delivery โดย ดนุภพ ศรศิลป์, เขมจรินทร์ วงศ์ตระกูลไชย, สุรพล ตั้งสกุล, ประภาพร สุวรัตน์ชัย รพ.สรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี, การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายชนิด STEMI โดย สุเพียร โภคทิพย์, วีระ มหาวนากูล, นาฏอนงค์ เสนาพรหม, ปัทมานันท์ ภูปา รพ.สรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี, ก้าวสู่สนามสอบอย่างมั่นใจกับ Facebook: ติว adult กับสปส. โดย จรูญศรี มีหนองหว้า, นงลักษณ์ ศรีแสง, อภิรดี เจริญนุกุล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี, โครงการเพิ่มความคุ้มค่าการใช้โทรศัพท์เพื่อการสื่อสารให้เกิดประโยชน์สูงสุดและลดค่าใช้จ่ายฯ (โทร.ไม่บาน) โดย อุษณีย์ หมื่นจิตน้อย, ปรีดา แต้อารักษ์, อลิสา ศรีอรรคจันทร์ สปสช.เขต 8 อุดรธานี, การพัฒนาเครือข่ายบริการยาละลายลิ่มเลือดวาร์ฟาริน โดย ชาลิณี ปิยะประสิทธิ์ สปสช.เขต 10 อุบลราชธานี ส่วนผลงานของสปสช.อีกชิ้นหนึ่งที่ได้รับรางวัล ได้แก่ การเพิ่มเข้าถึงบริการรังสีรักษาด้วยระบบส่งต่อทาง internet โดย นิภาภัทร คงโต, คณิตศักดิ์ จันทราพิพัฒน์, ชัยพร กันกา, ฉวีวรรณ เจิมสม สปสช. เขต 3 นครสวรรค์



Project Manager: นส.มาริสา  บุญท้าว
โทรศัพท์: 045-240591
มือถือ: 090-197-5240
E-mail: marisa.b@nhso.go.th
วันที่ลงข่าว: 26/07/2554