สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) เขต 10 อุบลราชธานี

 
 
สปสช.เขต 10 ร่วมมือกับ ช่อง 7 รา...

สปสช.เขต 10 ร่วมมือกับ ช่อง 7 รา...

4 มิย 56 รพ.สำโรง รพ.50 พรรษาฯ รพ.สรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี ในเรื่อง บทบาทของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวกับการดูแลสุขภาพภายใต้โครงการเพิ่มประสบการณ์เวชปฏิบัติครอบครัว การฝึกปฏิบัติโดยใช้โรงพยาบาลชุมชน หรือสถานบริการปฐมภูมิ ปัจจุบันมีการจัดให้มีสถานบริการใกล้บ้านใกล้ใจครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่ แต่สิ่งที่สำคัญมากกว่าสถานที่คือบุคคลากรทางการแพทย์ที่ให้บริการ ซึ่งจำเป็นต้องมีองค์ความรู้เวชศาสตร์ครอบครัว เพราะมีความสำคัญมากในการให้บริการผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับปฐมภูมิ เพราะการดูแลแบบเวชศาสตร์ครอบครัวคือการดูแลผู้ป่วยทั้งร่างกาย จิตใจ เคารพในความเชื่อและจิตวิญญาณ ดูแลต่อเนื่อง ครอบคลุมทั้งการรักษาพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสภาพ รวมถึงการดูแลผู้ป่วยที่สิ้นหวังให้จากไปอย่างสงบในที่ที่ตั้งใจ และการดูแลครอบคลุมถึงครอบครัวและชุมชน โดยเน้นการพึ่งพาตนเองและการมีส่วนร่วมของชุมชน แต่น่าเสียดายที่ปัจจุบันมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขานี้ ไม่มากเพียงพอที่จะให้การดูแลได้อย่างครอบคลุมศูนย์การเรียนรู้เวชศาสตร์ครอบครัวและบริการปฐมภูมิ จึงได้เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี 2554 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งสนับสนุนทางวิชาการด้านเวชศาสตร์ครอบครัวและสนับสนุนให้มีโครงการเพื่อพัฒนางานบริการระดับปฐมภูมิ โดยหนึ่งในนั้นคือศูนย์เรียนรู้เวชศาสตร์ครอบครัวและบริการปฐมภูมิเขต 13 เพื่อให้บริการในพื้นที่เขตตรวจราชการสาธารณสุข เครือข่ายบริการที่ 10 ซึ่งครอบคลุมจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร มุกดาหาร และอำนาจเจริญ5 มิย. 56 รพ.เมืองจันทร์ อ.เมืองจันทร์ ศรีสะเกษ และ รพ.สต.โพนเมือง อ.พนา จ.อำนาจเจริญ ในเรื่อง การสร้างเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอและ รพ.สต กาบริการปฐมภูมิใกล้บ้านใกล้ใจ การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิในประเทศไทยมีความก้าวหน้ามากขึ้นเป็นลำดับ โดยมีเป้าหมายสุดท้ายคือ การจัดบริการสาธารณสุขพื้นฐานที่มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ และประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้ง่าย สะดวกและทั่วถึง ตลอดจนการส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนพึ่งตนเองในการดูแลสุขภาพเบื้องต้นได้ ตามนโยบายของรัฐบาลโดยเน้นการส่งเสริมให้มีการสร้างสุขภาพของบุคคล ครอบครัวและชุมชน ภายใต้แนวคิด ?ชุมชนเป็นเจ้าของสุขภาวะชุมชน? และเปลี่ยนจากเน้นงานรักษาพยาบาลแบบตั้งรับ มาเป็นการดำเนินงานเชิงรุกที่เน้นการส่งเสริมให้เกิดการสร้างสุขภาพของบุคคล ครอบครัว ชุมชน ซึ่งจะมีผลทำให้ระบบสุขภาพในภาพรวมมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ลดปริมาณผู้ป่วยที่ไปใช้บริการในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน และเป็นการประหยัดงบประมาณของประเทศในระยะยาว บทบาทสำคัญของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในการเป็นหน่วยบริการระดับปฐมภูมิเพื่อตอบสนองต่อการสร้างสุขภาพสร้างความเข้มแข็งให้แก่ประชาชน คือ มีขอบเขตการดำเนินการบริการสาธารณสุขผสมผสานทั้งด้านส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมและป้องกันโรค การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสุขภาพ รวมทั้งการจัดการปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชนและสังคมในพื้นที่ที่รับผิดชอบ มีความเชื่อมโยงและการมีส่วนร่วมกับบริการสุขภาพระดับอื่น ในการดูแลผู้ป่วย มีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็ง และมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของประชาชน ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 มิย.56 เครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอกับการดูแลผู้ป่วยจิตเวช รพ.เขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี ปัญหาผู้ป่วยจิตเวชขาดยา มีอาการกำเริบ ทำร้ายญาติและคนในชุมชน ผู้ป่วยจิตเวชถูกล่ามขัง ผู้ป่วยจากการเสพยามีประสาทหลอน ซึมเศร้า วิตกกังวล มีแนวโน้มสูงขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมากจากอาการข้างเคียงของยาทำให้ไม่อยากรับประทานยาต่อไป หรือกินยามานานหลายปี อาการดีขึ้นคิดว่าหายแล้วจึงหยุดยาเอง จึงเป็นที่มาของโครงการเสริมสร้างศักยภาพเครือข่ายผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวช โดยมี รพ.เขื่องใน รพ.สต อสม และ อบต ในพื้นที่มีส่วนร่วมในโครงการนี้ และได้ลงพื้นที่ไป อบต.ท่าไห อ.เขื่องใน เพือดูการจัดประชุม อสมและกรรมการในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ได้จัดเสวนาปัญหาจิตเวช ร่วมกับแกนนำ และได้ลงไปเยี่ยมให้กำลังใจผู้ป่วยจิตเวช พูดคุยเพื่อให้กำลังใจ และยังเป็นการชื่นชมการทำงานของ อสม. และ รพ.สตท่าไหอีกด้วย



Project Manager: นส.มาริสา  บุญท้าว
โทรศัพท์: 045-240591
มือถือ: 090-197-5240
E-mail: marisa.b@nhso.go.th
วันที่ลงข่าว: 07/06/2556